ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
อบต. คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยราษฎรเลือกตั้งผู้แทนแต่ละหมู่บ้านไปเป็นสมาชิกสภา อบต. มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
– จัดให้มี และ บำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
– รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และ ที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
– ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ
– คุ้มครอง ดูแล และ บำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
– ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากร ให้ตามความจำเป็นและสมควร
3. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
– ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
– ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
– ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
– ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
– ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตร และกิจการสหกรณ์
– ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
– บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
– การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
– หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
– ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
– กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
– การท่องเที่ยว
– การผังเมือง
4. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดที่ 2 มาตรา 16 มีอำนาจหน้าที่ในการระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง ดังนี้
– การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตน
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
– การจัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
– การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
– การสาธารณูปการ
– การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
– การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
– การส่งเสริมการท่องเที่ยว
– การจัดการศึกษา
– การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
– การบำรุงรักษา ศิลป จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
– การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
– การจัดให้มีการบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
-การส่งเสริมการกีฬา
– การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
– การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
– การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
– การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
– การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
– การควบคุมการสัตว์เลี้ยง
– การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
– การรักษาความปลอดภัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรง มหรสพ และสาธรณสถาน อื่นๆ
– การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– การผังเมือง
– การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
– การดูแลรักษาที่สาธารณะ
– การควบคุมอาคาร
– การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุน การป้องกันและรักษา ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
– กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ภารกิจอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา นั้นเป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการร่วมคิดร่วมแก้ปัญหาร่วมสร้างร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นทุกๆ ด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนจึงจะสมบูรณ์ได้ ประชาชนในพื้นที่ตระหนักและร่วมกันแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ยังได้เน้นให้คนเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมการศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน พัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นประชากรที่มีคุณภาพ โดยยึดแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนการพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองเป็นหลัก และจัดตั้งเศรษฐกิจพอเพียงโดยส่วนรวม
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน ได้อย่างไรโดยวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามหลัก องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาลและนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถแบ่งกำหนดภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตองการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
5.1 ด้านงานโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก ( มาตรา 67(1) )
2. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตร (มาตรา 68(1))
3. ให้มีและการบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 68(2))
4. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา 68(3))
5. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
6. การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5)
5.2 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
1. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา67(6))
2. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67(3))
3. ให้มีและบำรุงรักษาสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและ สวนสาธารณะ (มาตรา 68(4))
4. การสังคมสงเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 67(6))
5. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา16(5))
6. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา16(5))
7. การสาธารณสุข การอนามัยครองครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(9))
5.3 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(4))
2. การคุ้มครองและดูแลทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68(8))
3. การผังเมือง (มาตรา 68(3))
4. ให้มีที่จอดรถ (มาตรา 16(3))
5. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))
6. การควบคุมอาคาร (มาตรา16(28))
5.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริม การลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6))
2. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตร 68(5))
3. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))
4. ให้มีตลาด (มาตรา 68 (10))
5. การท่องเที่ยว (มาตรา 68(11))
6. กิจการเกี่ยวกับพาณิชย์ (มาตรา 68(11))
7. การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16 (7))
8. การพาณิชย์กรรมและการส่งเส ริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
5.5 ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67(7))
2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินสาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล (มาตรา 67(2))
5.6 ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น (มาตรา 67(8))
2. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม( มาตรา 67 (5) )
3. การจัดการศึกษา ( มาตรา 16(9) )
4. ส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ( มาตรา 17 (18) )
5.7. ด้านการบริหารจัดการ และสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภาระที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น ( มาตรา 45 (3))
2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจำเป็นและเห็นสมควร ( มาตรา 67 ( 9))
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการป้องกัน ( มาตรา 16(6))
4. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ( มาตรา17(3))
5. การสร้างและรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ( มาตรา 17(16))
ภารกิจทั้ง 7 ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถที่จะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล และจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ
ภารกิจที่ได้วิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นนำมากำหนดภารกิจหลักและภารกิจรองที่จะดำเนินการตามแผนอัตรากำลัง 4 ปี องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา มีภารกิจหลักและภารกิจรองที่จะต้องดำเนินการดังนี้
ภารกิจหลัก
1. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
2. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
4. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
6. ด้านการส่งเสริมการศึกษา
7. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ภารกิจรอง
1. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและประเพณี
2. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มอาชีพ
3. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน
หมายเหตุ : มาตรา 67,68 หมายถึง พ.ร.บ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2543 มาตรา 16,17 และ 45 หมายถึง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น